“สมุนไพรไทย” บรรเทาอาการโควิด-19 และ Long COVID

“สมุนไพรไทย” เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของ “โควิด-19” เช่น ฟ้าทะลายโจร ที่ใช้สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่หนัก รวมถึงมีการนำมาใช้ฟื้นฟูสุขภาพจากอาการ “Long COVID” อีกด้วย

ปัจจุบัน การใช้ สมุนไพร ดูแลสุขภาพ สำหรับผู้ป่วย โควิด-19 เป็นส่วนหนึ่งของแผนการรักษา มีส่วนช่วยในการเสริมภูมิคุ้มกันและมีส่วนช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ บรรเทาอาการของโรค ในผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง (ยังไม่พบปอดอักเสบ) มีส่วนช่วยลดโอกาสที่โรคจะพัฒนารุนแรง ลดระยะการเจ็บป่วยให้สั้นลง ลดโอกาสเกิดผลกระทบต่อสุขภาพภายหลังจากการติดเชื้อ

ข้อมูลจาก ศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร อธิบาย การใช้สมุนไพร ดูแลสุขภาพ ในช่วงการระบาดของโควิด-19 โดยวัตถุประสงค์ของการใช้สมุนไพร มีทั้งช่วงก่อนติดเชื้อ ช่วงติดเชื้อ และหลังติดเชื้อ

ช่วงก่อนติดเชื้อ

เสริมภูมิคุ้มกัน ทั้งภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด (Innate immunity) หรือ ภูมิคุ้มกันชนิดไม่จำเพาะ ซึ่งเป็นด่านแรกในการต่อสู้และป้องกันเชื้อไวรัสที่เข้ามาในร่างกาย เช่น เม็ดเลือดขาวชนิด Natural killer cells (virus-fighting white blood cells) แต่ไม่สามารถใช้ทดแทนการฉีดวัคซีนได้ ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (Adaptive or Acquired Immunity)

ยาสมุนไพร

กินอาหารเป็นยาเสริมภูมิคุ้มกัน เน้นกลุ่มเครื่องเทศ เช่น กระชาย ขิง หอม หูเสือ ตะไคร้ กะเพรา
ยาฟ้าทะลายโจร ในผู้มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19
ยาตรีผลา (มีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกัน)

ช่วงติดเชื้อ

ลดปริมาณเชื้อไวรัส โดยส่งเสริมการทำงานของภูมิคุ้มกันและเลือกใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส
เสริมภูมิคุ้มกัน/ปรับภูมิคุ้มกันให้สมดุล หากมีการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบน การระดมพลภูมิคุ้มกันให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้เป็นสิ่งสำคัญในการจัดการกับไวรัส แต่เมื่อมีไวรัสจำนวนมากแล้ว ต้องปรับให้ภูมิคุ้มกันท างานให้เหมาะสม เพื่อลดการอักเสบ
ลดการอักเสบ ช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเซลล์หรืออวัยวะในร่างกาย ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ และการทำงานของภูมิคุ้มกันที่มากเกินไปในการพยายามที่จะกำจัดเชื้อ หรือเรียกว่า ภาวะพายุไซโตไคน์ (cytokine storm)

ยาสมุนไพร

ใช้บรรเทาอาการในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง

ยาฟ้าทะลายโจร
ยาขิง
ยาแก้ไอมะขามป้อม
ยาสุม (รมไอน้ำ)
ยาปราบชมพูทวีป (ใช้ในกรณีมีอาการคัดจมูกน้ำมูก หรือ หายใจไม่สะดวกร่วมด้วย ห้ามใช้ขณะมีไข้สูง หรือตัวร้อนสูง)

หลังติดเชื้อ

บรรเทาอาการที่เป็นผลกระทบทางสุขภาพภายหลังติดเชื้อ อาการที่พบบ่อย เช่น ไอ อ่อนเพลีย หายใจลำบาก ปวดข้อ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส
ผู้ติดเชื้อโควิด แม้จะออกจากโรงพยาบาลหลังตรวจไม่พบเชื้อแล้ว แต่ผู้ป่วยหลายรายยังคงประสบกับปัญหาจากความเสียหายของปอดที่เกิดขึ้น ซึ่งต้องใช้เวลาเยียวยาไม่ต่ำกว่า 3 เดือน หรือ 1 ปี หรือ มากกว่านั้น

ยาสมุนไพร

ตำรับยาใช้ฟื้นฟู บำรุงปอด
ตำรับยาบำรุงปอด
ยาตรีผลา
ยาปราบชมพูทวีป
ยาอภัยสาลี

ทั้งนี้ ผู้ใช้ควรศึกษารายละเอียดการใช้อย่างรอบคอบจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ เภสัชกร แพทย์แผนไทย หากสงสัย หรือ มีผลยืนยันว่าติดเชื้อโควิด-19 ควรรับการรักษาตามแผนมาตรฐาน ทราบวิธีการใช้ที่ถูกต้อง ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวัง ก่อนพิจารณาตัดสินใจใช้

สมุนไพร การใช้ และข้อควรระวัง

ยาฟ้าทะลายโจร

เสริมภูมิคุ้มกัน ต้านไวรัส ลดอักเสบ ขับเหงื่อ บรรเทาอาการ ไข้ ไอ เจ็บคอ

ใช้รักษา : 5 วัน

*ไม่แนะนำการใช้เสริมภูมิคุ้มกันในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี และในผู้ป่วยที่ตับและไตไม่ดี รวมถึงผู้ใช้ยาวาร์ฟาริน

วิธีใช้

ผู้ป่วยที่ควรได้รับยาฟ้าทะลายโจร

  1. มีไข้ ไอ เจ็บคอ ครั่นเนื้อครั่นตัว
  2. มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19 ในวงแรก

อายุ 12 ปีขึ้นไป : ผงยาฟ้าทะลายโจร ครั้งละ 1.5-3 กรัม วันละ 4 ครั้ง (ประมาณครั้งละ 4แคปซูล วันละ 3 ครั้ง) กรณีสารสกัดควรศึกษาขนาดการใช้ของแต่ละผลิตภัณฑ์
อายุ 4-11 ปี : สารแอนโดรกราโฟไลด์ 30 มิลลิกรัมต่อวัน แบ่งให้กินวันละ 3 ครั้ง (ประมาณครั้งละ 1แคปซูลวันละ 3 ครั้ง)
ใบสดอายุจากต้น 3 เดือนขึ้นไป 4-7 ใบ ชงน้ าดื่ม วันละ 3 ครั้ง
ข้อควรระวัง

ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์, ให้นมบุตร
ระวังการใช้ระยะยาวในผู้ที่หนาวง่าย ความดันโลหิตต่ำเพราะอาจเสริมฤทธิ์ยาลดความดัน
ผู้ป่วยโรคตับอักเสบ-ไตวาย -ใช้ยาวาร์ฟาริน ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา

ยาขิง

เสริมภูมิคุ้มกันต้านไวรัส ลดอักเสบ ลดเสมหะ แก้คัดจมูก เพิ่มการไหล เวียนโลหิต ขับเหงื่อ

วิธีใช้

ขิงสด 1.5-3 กรัม ต้มน้ำดื่ม ครั้งละ 1 แก้วชา วันละ 1-3 ครั้ง หลังอาหาร ปรับรสได้ด้วยน้ าผึ้ง มะนาว
ชนิดแคปซูล : วันละ 1-2 แคปซูล หลังอาหาร หากอาการ หวัดคัดจมูกดีขึ้นควรหยุดยา
ข้อควรระวัง

มีผลเสริมยาละลายลิ่มเลือด
ระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี
ชนิดยาแคปซูลควรหลีกเลี่ยงในผู้มีไข้ และ เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี

ยาแก้ไอมะขามป้อม

เสริมภูมิคุ้มกัน ต้านไวรัส ลดอักเสบ แก้ไอ ละลายเสมหะ

วิธีใช้

จิบหรืออม วันละ 3 ครั้ง หรือเมื่อมีอาการไอ ระคายคอ เสมหะข้นเหนียว
ข้อควรระวัง

ยาอาจทำให้ท้องเสีย
ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้แนะนำให้ใช้รูปแบบชาชงมะขามป้อม (ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาล)

ยาสุม (รมไอน้ำ)

ใช้สมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย แก้คัดจมูก ช่วยขับเสมหะ และน้ำมูกออกจากทางเดินหายใจ

วิธีใช้

สมุนไพรที่แนะนำ เช่น หอมแดง ตะไคร้ กะเพรา มะนาว มะกรูด ขิง สะระแหน่ หั่นเป็นชิ้นเล็กใส่กะละมัง แล้วเติมน้ำร้อนจนท่วม อาจโรยด้วยพิมเสนหรือการบูรเล็กน้อยแต่งกลิ่น

วิธีทำ

ใช้ผ้าคลุมศีรษะพร้อมกะละมังให้ปิดสนิท สูดหายใจเอาไอระเหยของสมุนไพรเข้าไป หายใจเข้า – ออกช้าๆ ทำเมื่อมีอาการหวัดคัดจมูก ไอ จาม โดยสุมยาครั้งละ 3-5 นาที วันละ 1-2 ครั้ง จนกว่าอาการจะดีขึ้น
ข้อควรระวัง

ไม่ควรสุมยาแก้หวัด ในผู้ที่มีไข้ ตัวร้อน วิงเวียนศีรษะ เพราะอาจทำให้เกิดอาการหน้ามืด เป็นลมได้

ตำรับยาบำรุงปอด

ช่วยฟื้นฟูปอด ขยายหลอดลม แก้หอบหืด

สมุนไพรในตำรับ

ใบหนุมานประสานกาย ฝาง, ใบมะคาไก่, แสมสาร,แห้วหมู และเถาวัลย์เปรียง อย่างละเท่าๆ กัน
วิธีทำ : ใส่น้ำท่วมตัวยา ต้มเดือด 15 นาที
วิธีใช้ : ครั้งละ 1 แก้วชา วันละ 1-3 ครั้ง ก่อนอาหาร กินได้นาน 3 เดือน หรือตามคำแนะนำของแพทย์แผนไทย
ข้อควรระวัง

ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์
ผู้ป่วยโรคหัวใจที่คุมอาการไม่ได้
ผู้ที่ใช้ยาวาร์ฟาริน

ยาตรีผลา

เสริมภูมิคุ้มกัน ต้านไวรัส ลดอักเสบ แก้ไอ ละลายเสมหะ

สมุนไพรในตำรับ

สมอพิเภก สมอไทย มะขามป้อม (อย่างละเท่ากัน)
วิธีใช้ : ครั้งละ 300 – 600 มิลลิกรัม เมื่อมีอาการไอ วันละ 3 – 4 ครั้ง
ข้อควรระวัง

ยาอาจทำให้ท้องเสีย

ยาปราบชมพูทวีป

บรรเทาอาการของหวัด คัดจมูกช่วยให้ทางเดิน หายใจโล่งขึ้น

ตัวยาในตำรับ

ประกอบด้วย เหงือกปลาหมอ (ทั้งต้น) พริกไทยดำ ใบกัญชาเทศ หัสคุณเทศ ดอกกานพลู หัวบุกรอ เนื้อลูกสมอเทศ เนื้อลูก สมอไทย รากเจตมูลเพลิงแดง เหง้าขิง เทียนแดง เทียนตาตั๊กแตน เทียนแกลบ เทียนดำ โกฐสอ โกฐเขมา ลูกพิลังกาสา ล าพันหางหมู ดอกดีปลี การบูร ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ลูกกระวาน
วิธีใช้: ครั้งละ 3 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน
ข้อควรระวัง

ไม่ควรใช้เมื่อมีไข้ตัวร้อน
ระวังการใช้ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน เนื่องจากยามีรสร้อน
ผู้มีความผิดปกติของตับและไต , กินยาวาร์ฟาริน
และตั้งครรภ์ให้นมบุตร ไม่ควรใช้

ยาอภัยสาลี (หรืออไภยสาลี)

ใช้บำบัดโรคลม แก้จุกเสียด แน่นท้อง และ ช่วยกระจายลม

สมุนไพรในตำรับ

ประกอบด้วย หัสคุณเทศ พริกไทยล่อนแก่นจันทร์ เทศราก เจตมูลเพลิงแดง หัวบุกรอ เนื้อลูกสมอไทย เนื้อลูกสมองเทศ เทียนแดง เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน เทียนขาว โกฐเขมา โกฐสอ ว่านน้ำ ดอกกานพลู ลูกกระวาน ดอกจันทน์ ลูกจันทน์ ลูกพิลังกาสา กัญชา
วิธีใช้ : ครั้งละ 1.5 – 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ก่อนอาหาร
ข้อควรระวัง

ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีไข้
คำเตือน ควรระวังการใช้ร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
หมายเหตุ

ยาอไภยสาลีเป็นสูตรตำรับเดียวกันกับยาอภัยสาลี ในบัญชียาหลักแห่งชาติปี 2018 เพียงแต่ในบัญชียาหลักแห่งชาติไม่ได้ใส่กัญชาในสูตรตำรับเนื่องจากเสนอตำรับยาก่อนที่พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2019 ประกาศใช้

ดูแลผู้ป่วยอาการ Long COVID

ขณะเดียวกัน สำหรับผู้ป่วย Long COVID กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เปิดคลินิกหน่วย “แพทย์แผนไทย” เคลื่อนที่ หวังช่วยฟื้นฟูสุขภาพคนไทยให้รอดพ้นจากอาการ “Long COVID” ด้วยการแพทย์แผนไทยและ “สมุนไพรไทย” ภายใน มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 19 พร้อมเผย ตำรับยาไทยที่รักษาอาการ Long COVID ดังนี้

ตำรับยาไทยที่รักษาอาการ Long COVID

ซึ่งแบ่งออกตามกลุ่มอาการ ประกอบด้วย

กลุ่มยารักษาลมปลายไข้ ได้แก่ ยาหอมนวโกฐ สรรพคุณ แก้ลมวิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมปลายไข้ ยาตรีเกสรมาศ

สรรพคุณ แก้อ่อนเพลีย ปรับธาตุในผู้ป่วยที่เพิ่งฟื้นจากการเจ็บป่วย เช่น ไข้ ท้องเสีย
กลุ่มยาปรับธาตุ ได้แก่ ยาธาตุบรรจบ สรรพคุณ บรรเทาอาการอุจจาระธาตุพิการ ท้องเสีย ชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ ยามันทธาตุ

สรรพคุณ บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ธาตุไม่ปกติ
ยาตรีเกสรมาศ

สรรพคุณ แก้อ่อนเพลีย ปรับธาตุในผู้ป่วยที่เพิ่งฟื้นจากการเจ็บป่วย
ยาตรีผลา

สรรพคุณ เป็นยาอายุวัฒนะ ปรับสมดุลของธาตุทั้ง 4 ในร่างกาย
กลุ่มยารักษาตามอาการ ได้แก่ ยาแก้ไอ เช่น ยาตรีผลา ยาประสะมะแว้ง ยาแก้ไอมะขามป้อม ยาอำมฤควาที บรรเทาอาการหวัด หอบเหนื่อย แพ้อากาศ ยาปราบชมพูทวีป แก้ไข้ ยาประสะจันทน์แดง ยาจันทน์ลีลา ยาเขียวหอม แก้ปวดเมื่อย เถาวัลย์เปรียง ขี้ผึ้งไพล เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ แก้ลมปะกัง ศุขไสยาศน์ น้ำมันกัญชา แก้ลมในเส้น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มือเท้าชา อ่อนแรง ยาแก้ลมแก้เส้น เป็นต้น

นางสาวบุษราภรณ์ ธนสีลังกูร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการเวชกรรม สถาบันการแพทย์แผนไทย อธิบายว่า ตัวยาทั้งหมดที่นำมาใช้กับผู้ป่วยได้รับการรับรอง ผ่านมาตรฐานการใช้ยาที่มีองค์ความรู้ดั้งเดิมและการันตีความปลอดภัย ในส่วนนี้จะบูรณาการร่วมกันระหว่าง กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กับ สภาการแพทย์แผนไทย เพื่อดูแลการแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทั่วประเทศ ยึดรูปแบบนี้ในการดูแลผู้ป่วยอาการ Long COVID เน้นเรื่องปรับสมดุลธาตุลมปลายไข้เป็นหลัก

อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาการรักษาขึ้นอยู่กับลักษณะบ่งชี้ของแต่ละคนและอาการรวมถึงลักษณะ ธาตุเจ้าเรือนของผู้ป่วย ที่เรียก กำเริบ หย่อน พิการ ดูอาการของตรีธาตุ เสมหะ ปิตตะ วาตะ ในการรักษากลุ่มอาการปวดให้ยาประมาณ5 – 7 วัน อาการไข้ จ่ายไม่เกิน 3 วัน ถ้าอาการไม่ดีขึ้นแนะนำให้พบแพทย์แผนปัจจุบันเพื่อวินิจฉัยอาการต่อไป

“หลังจากผู้ป่วยได้รับการรักษาอาการ Long COVID เข้ากระบวนการติดตามประเมินผล 2 อาทิตย์ หลังจากทานยา 1 อาทิตย์ ส่วนใหญ่ 90% อาการดีขึ้นและหายในที่สุด เนื่อง Long COVID เป็นอาการบ่งชี้ไม่รุนแรง แต่หากไม่รับการรักษาส่งผลกระทบการใช้ชีวิตประจำวันทางการแพทย์แผนไทยเรียกร่างกายเสียสมดุล”

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โทร. 0-2149-5649,
Facebook Fanpage มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ หรือ เว็บไซต์ คลิก

Credit : www.bangkokbiznews.com/health/1014626

Our Product

Our Best things

DL-Alanine

DL-Alanine Application: Amino acid used as sweetener and flavor enhancer

Koyo Keeper

Koyo Keeper helps your product to holds the moisture and minimizes…

Food Flavor

Flavor list : - Fruit flavor - Herb / Mint…

Fuming SP

Quality improvement agent which free from phosphoric acid. Application: Processed…

LINE LOGO SVG